แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 16 พฤษภาคม 2553: บ่อนไก่-พระรามสี่

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

ในเช้าของวันที่ 16 พฤษภาคม มีฝนตกเวลาประมาณ 8.30 น. ขณะที่บริเวณบ่อนไก่ สีลมถูกควบคุมกำกับโดย ศอฉ. ตลอดถนนพระราม 4 จนถึงแนวตั้งรับของฝ่ายผู้ชุมนุม ตามแนวตึกบนถนนสีลมตลอดทั้งสาย หลังฝนตก ฝ่ายผู้ชุมนุมได้วางยางรถยนต์เผาไฟเป็นแนวเพื่อลดการมองเห็นและป้องกันการถูกยิงจากสไนเปอร์ โดยเฉพาะ

จากทิศทางที่ตั้งของกองกำลังร่วมของ ศอฉ. ซึ่งในวันนี้เป็นวันที่มีผู้เสียชีวิตที่บ่อนไก่มากที่สุดถึง 7 คน คือ นายสมชาย พระสุพรรณ, นายสุพรรณ ทุมทอง, นายวุฒิชัย วราห์คำ, นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์, นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล, นายประจวบ ประจวบสุข และนายสมัย ทัดแก้ว

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน ศปช บทที่ 3.1: ความตายที่สวนลุมพินี-บ่อนไก่

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553: บ่อนไก่-พระรามสี่

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

การปะทะเริ่มขึ้นอีกเมื่อเวลา 8.00 ของวันที่ 15 พฤษภาคม 9.30 น. มีประชาชน 3-4 คนถูกบุคคลที่อยู่ในที่สูงยิงลงมาทำให้ได้รับบาดเจ็บ บางรายถูกยิงที่หน้าอก จึงต้องนำส่งโรงพยาบาล มีรายงานว่ามีการยิง M79 ใส่ทหารเป็นระยะและมีการยิงตอบโต้จากฝ่ายทหาร เมื่อถึงเวลา 12.00 น. นายแพทย์วันชัย เจริญโชคทวี ผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลแจ้งว่าได้ประกาศถอนกำลังหน่วยกู้ชีพเพราะสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร

ในเขตแนวตั้งฝ่ายทหารเป็นกองกำลังจาก ม.พัน 25 จากจังหวัดสระบุรี ได้วางกำลังบนถนนพระราม 4 หน้าอาคารวอลโว่ มีการเสริมกระสอบทรายเวลา 15.00 น. ให้เป็นบังเกอร์สูงขึ้น ระยะทางระหว่างผู้ชุมนุมถึงแนวยางรถยนต์ที่ถูกเผาไฟประมาณ 50 เมตร และอยู่ห่างจากฝั่งทหารประมาณ 60 เมตร

เวลาประมาณ 15.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำเอายางรถยนต์มากองและจุดไฟอำพรางวิถีกระสุนของฝ่ายทหารบริเวณหน้าอาคารลุมพินีทาวเวอร์ หน้าสำนักงานธนาคาร สาขาลุมพินี จนไฟลุกไหม้สายไฟหน้าธนาคารดังกล่าว ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องนำน้ำมาฉีดดับไฟ แต่ก็หนีไม่พ้นที่จะเผชิญหน้ากับฝ่ายทหารจากข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้มีผู้เสียชีวิตในสถานการณ์ระหว่างวันได้แก่ นายมานะ แสนประเสริฐศรี, นายพรสวรรค์ นาคะไชย, นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง, นายวารินทร์ วงศ์สนิทและนายวงศกร แปลงศรี

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน ศปช บทที่ 3.1: ความตายที่สวนลุมพินี-บ่อนไก่

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553: ศาลาแดง-สาธร

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

จากรายงานข่าว เวลา 22.00 น.วันที่15 พฤษภาคม 2553 กลุ่ม ผู้ชุมนุมได้บุกยึดสถานีบริการปั๊มน้ำมันเชลล์ สาขาสาทรและนำยางรถยนต์จำนวนมากมาเผา ทำให้เกิดควันพวยพุ่ง เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดควันพวยพุ่งเป็นจำนวนมาก จากการที่ถนนและตึกแถวร้านค้าสองข้างหน้าทางปิดไฟหมด เจ้าหน้าที่จึงทำงานด้วยความยากลำบาก มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตอนเย็นเป็นต้นมามีการระดมคนประมาณ 400 คน มารวมตัวกันที่สน.ทุ่งมหาเมฆ มุ่งออกไปทางปากซอยสวนพลูเพื่อเคลื่อนไปคลองเตย ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์ช่วงที่นายวงศกร แปลงศรีเสียชีวิต

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน ศปช บทที่ 3: ข้อเท็จจริงการเสียชีวิตและความรุนแรง พฤษภา 53

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 16 พฤษภาคม 2553: สวนลุมพินี

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

ในช่วงค่ำของวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 นายสุพจน์ ยะทิมา (อายุ 37 ปี) ชาวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นการ์ด นปช. จังหวัดพิษณุโลก ถูกยิงเสียชีวิต แต่ไม่ทราบรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกจากจุดที่เกิดเหตุและช่วงเวลาเกิดเหตุ

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน ศปช บทที่ 3.1: ความตายที่สวนลุมพินี-บ่อนไก่

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2553: สวนลุมพินี

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

ในเหตุการณ์ช่วงเช้าของวันที่ 19 ทหารบริเวณศาลาแดง สวนลุมพินี ได้เริ่มปฏิบัติการกระชับวงล้อมโดยมีการใช้รถหุ้มเกราะลำเลียงพลเข้าร่วมในการปฏิบัติการ โดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 5.00 น. โดยปฏิบัติการของทหารในเช้าวันที่ 19 นั้น ทางกองทัพได้ชี้แจงว่า การวางกำลังของทหารตั้งแต่เริ่มเข้าไปในพื้นที่ศาลาแดงนั้นจะมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น

  • ส่วนที่ 1 กรมทหารม้าที่ 1 จะอยู่บริเวณแยกศาลาแดง
  • ส่วนที่ 2 คือ ฉก. กองพลทหารราบที่ 4 อยู่บริเวณสามย่าน
  • ส่วนที่ 3 และ 4 ของ ฉก.ม.1 ฉก. ม.3 จะเข้าพื้นที่บริเวณลุมพินี เข้าปฏิบัติการในสวนลุมพินี
  • ส่วนที่ 5 ส่วนของ ฉก.ร.11 จะเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของลุมพินี บริเวณอาคารเคี่ยนหงวน
  • ส่วนที่ 6 จะเป็นกำลังที่อยู่ที่บริเวณสีลม เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของสีลม เนื่องจากเป็นพื้นที่ธุรกิจ
  • ส่วนที่ 7 กรมทหารม้าที่ 6
  • ส่วนที่ 8 ฉก.ม. 5 จะวางกำลังอยู่ที่สะพานไทย – เบลเยี่ยม เพื่อตรึงไม่ให้คนเข้าไปเพิ่มเติม

ในเหตุการณ์ช่วงเช้าถึงเที่ยงนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 คน โดยมี 2 คน เสียชีวิตบริเวณหลังแนวยางใกล้กับที่จอดรถด้านข้างสวนลุมพินี คือนายถวิล คำมูล และชายที่ยังระบุตัวตนไม่ได้ แต่ในภาพจะเห็นเขาใส่เพียงกางเกงลายพราง รูปร่างผอมเกร็ง ผมยาวและไว้หนวดเครา ส่วนอีก 2 คน คือ ฟาบิโอ โปเลนกีและนรินทร์ ศรีชมพู เสียชีวิตบริเวณแยกสารสิน ส่วน ธนโชติ ชุ่มเย็นนั้นยังไม่สามารถระบุตำแหน่งชัดเจน ทราบเพียงว่าถูกยิงจากถนนราชดำริเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน ศปช บทที่ 3.1: ความตายที่สวนลุมพินี-บ่อนไก่

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2553: ราชปรารภ (รางน้ำ-ดินแดง)

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

ในช่วงกลางคืนของวันที่ 17 พฤษภาคม จนกระทั่งเช้าของวันที่ 18 พฤษภาคม กลุ่มผู้ชุมนุมและทหารยังคงมีการเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ชุมนุมพยายามรุกเข้าไปในพื้นที่ทหารผ่านการใช้ประทัดยักษ์จุดเพื่อเปิดทาง ทหารจึงเลือกการยิงตอบโต้กลับไป โดยในรายงานข่าวเบื้องต้นปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 1 ราย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลในภายหลังพบว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมดสองรายด้วยกัน คือ นายสมพาน หลวงชม อายุ 35ปี และนายเยื้อน โพธิ์ทองคำ อายุ 61 ปี แม้ผู้เสียชีวิตทั้งสองจะไม่มีพยานบุคคล รูปหรือวิดีโอประกอบ แต่จากสถานที่และเวลาการเสียชีวิตที่ใกล้เคียงกัน จึงคาดว่าน่าจะเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงเวลาเดียวกัน คือ ประมาณ 21.00 น. ในบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง-ปากซอยรางน้ำของคืนดังกล่าว

อ่านรายงาน ศปช บทที่ 3.2 ความตายที่ราชปรารภ

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553: ราชปรารภ (รางน้ำ-ดินแดง)

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

ปฏิบัติการของทหารวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ ช่วงเช้าอยู่ในที่ตั้งบริเวณปั๊มเอสโซ่ (ปัจจุบันคือคาลเท็กซ์) มีการวางลวดหนามขวางถนนราชปรารภบริเวณทางเข้าซอยรางน้ำ ที่เห็นตั้งแต่ช่วงกลางคืนวันที่14 พอถึงช่วงเช้า เห็นได้ว่าฝ่ายทหารมีการวางแนวกระสอบทรายและแนวกำบังที่อยู่หน้าร้าน “ตั้งเจริญสิน” ซึ่งเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างอยู่ฝั่งตรงข้ามกับปั๊มน้ำมันเอสโซ่และยังมีทหารอยู่บนสะพานลอยใกล้กับปั๊มเอซโซ่ด้วย ส่วนฝ่ายผู้ชุมนุมและประชาชนที่ออกมาดูเหตุการณ์จะอยู่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงและตามซอยต่างๆ ในบริเวณนั้น เวลาประมาณ 7.00 น. ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธได้เดินไปตามทางเท้าฝั่งตะวันออกเข้าหาแนวทหาร28 ทางฝ่ายทหารได้ยิงใส่ผู้ชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และมีการยิงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนที่ไม่บาดเจ็บต้องคลานกับพื้นเพื่อหนีจากแนวกระสุน และไม่มีใครสามารถเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้ จนกระทั่งเสียงกระสุนสงบลงในช่วงสายราว10.30 น. จึงสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้ เหตุการณ์บริเวณนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน คือ นายอำพล ชื่นสี นายสมาพันธ์ ศรีเทพ (เฌอ) และ นายสุภชีพ จุลทรรศน์

ส่วนในเหตุการณ์ช่วงบ่าย เวลาประมาณ 13.30 น. ทางด้านผู้ชุมนุมได้ยึดรถน้ำจากสามเหลี่ยมดินแดง เพื่อใช้ขนยางรถยนต์ และกลิ้งยางเข้าไปทำแนวกำบังบนถนนราชปรารภบริเวณปั๊มเชลล์ ซึ่งในกลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าไปในนั้น มีนายชาญณรงค์ พลศรีลา อยู่ด้วย เมื่อมีวางแนวยางได้ซักพัก ทหารได้เริ่มมีการยิงใส่ผู้ชุมนุมจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน คือนายชาญณรงค์ พลศรีลา และนายอุทัย อรอินทร์ ซึ่งถูกยิงตั้งแต่เริ่มมีการยิงใส่ผู้ชุมนุม และต่อมามีผู้เสียชีวิตอีก 1 คน คือ นายธนากร ปิยะผลดิเรกซึ่งถูกยิงขณะยืนอยู่บนระเบียงห้องพักของตนเอง ที่ตึกคอนโดเดอะคอมพลีต จากพยานหลักฐาน คาดว่านายธนากร ถูกยิงช่วงหลังจากที่ทหารได้เข้ายึดบริเวณปั๊มเชลล์และจับผู้ชุมนุมจากในปั๊มเชลล์แล้ว

อ่านรายงาน ศปช บทที่ 3.2 ความตายที่ราชปรารภ

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2553: ราชปรารภ (รางน้ำ-ดินแดง)

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

เวลา 09.30 น. บริเวณสะพานลอยข้ามแยกราชปรารภ การ์ด นปช.จุดไฟเผายางรถยนต์ตลอดเวลา และมีข่าวลือเกิดขึ้นว่า ทหารนำกำลังบุกเข้ามาซอยราชปรารภ 20 (วัดตะพาน) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในกลุ่มเสื้อแดงเตรียมรับมือ หลังจากนั้นเกิดเสียงปืนดังขึ้น มีหญิงอายุประมาณ 50 ปี ที่มีผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่ากำลังเก็บขยะอยู่ใต้สะพานลอยข้ามแยกถูกยิงล้มลง คือ นางประจวบ เจริญทิม อายุ 49 ปี

และในคืนวันเดียวกันนี้พบผู้เสียชีวิตอีก 1 รายคือนายปรัชญา แซ่โค้ว ซึ่งทาง ศปช. ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์การเสียชีวิตของเขามากนักนอกจากเพียงทราบข้อมูลจากญาติว่าเขาได้ไปส่งแฟนที่สามเหลี่ยมดินแดงในช่วงค่ำและถูกยิงเสียชีวิต

อ่านรายงาน ศปช บทที่ 3.2 ความตายที่ราชปรารภ

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 18 พฤษภาคม 2553: ราชปรารภ (รางน้ำ-ดินแดง)

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 15.10 น. เกิดเหตุระเบิดที่อาจจะเกิดจากกระสุนระเบิดที่ยิงจากเครื่องยิงระเบิด เอ็ม 79 ที่บริเวณถนนราชปรารภจำนวน 2 จุด โดยจุดแรกเป็นบริเวณจุดสกัดของทหารใกล้กับซอยรางน้ำ ซึ่งมีเสียงระเบิดดังขึ้นประมาณ 2-3 ครั้ง พอถึงเวลาประมาณ 16.35 น. กลุ่มผู้ชุมนุมจากแยกดินแดงที่อยู่บริเวณหน้าโรงแรมเซ็นจูรี่ ได้พยายามเคลื่อนเข้าหาแนวกั้นของทหารบนถนนราชปรารภ โดยมีการนำยางรถยนต์เข้ามาสร้างเป็นแนวกำบัง จึงเกิดการยิงปะทะกันประมาณ 5 นาที จากนั้นผู้ชุมนุมได้ถอยกลับไปที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง อุโมงค์ลอดแยกดินแดง และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจากเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ในรายงานข่าวจะไม่ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต

แต่จากแบบรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายออง ลวิน

อ่านรายงาน ศปช บทที่ 3.2 ความตายที่ราชปรารภ

แผนที่ผู้เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553: สวนลุมพินี

กดที่ร่างผู้เสียชีวิตเพื่ออ่านรายละเอียดรายบุคคล

ในเช้าของวันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 9.20 น. ในช่วงเวลานั้นถนนพระราม 4 ยังมีคงมีผู้ใช้รถใช้ถนนพระราม 4 สัญจรผ่านไปมาอยู่เนื่องจากยังไม่มีการประกาศปิดพื้นที่บริษัทห้างร้านบางแห่งยังเปิดทำการปกติ ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนแนวรั้วจากบริเวณสะพานไทย – เบลเยียมเข้าหาเจ้าหน้าที่บริเวณหน้าตึกอื้อจื่อเหลียง25 และมีการใช้ พลุ ตะไล ยิงจากแนวกระสอบทรายเข้าหาทหาร26ในช่วงเวลาประมาณ 12.00 น. ปฏิบัติการทหารได้เริ่มต้นขึ้นเพื่อเข้าปิดกั้นถนนพระราม 4 ไม่ให้ผู้ชุมนุมสามารถใช้เส้นทางถนนวิทยุเข้าไปในแยกราชประสงค์ได้ โดยทหารได้เข้าผลักดันผู้ชุมนุมออกจากถนนพระราม 4 ช่วงแยกวิทยุ และเคลื่อนกำลังเข้าไปในถนนวิทยุด้านทิศเหนือ ซึ่งข้างในถนนวิทยุนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแนวรั้วเอาไว้บริเวณแยกสารสินด้วย จากการปฏิบัติการของทหารที่ถนนวิทยุทำให้เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลทหารม้าที่ 2รักษาพระองค์ที่เข้าปฏิบัติการที่แยกวิทยุตั้งแต่คืนวันที่ 13 แต่ถูกผู้ชุมนุมกดดันจนทำให้ต้องหลบเข้าไปอยู่ในสวนลุมไนท์บาซาถอนกำลังออกมาได้ (และคาดว่าจะรวมถึงทหารที่ติดอยู่ในสวนลุมพินีด้วยเนื่องจากในคืนวันที่ 13 มีภาพเจ้าหน้าที่ติดอยู่ภายในสวนลุมพินีด้วย) ซึ่งในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 2 คนภายในสวนลุมพินี

และในตอนเย็นเวลาประมาณ 18.00 น. ของวันเดียวกันยังมีผู้เสียชีวิตอีก 1 คนที่บริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ซึ่งในบริเวณนั้นนอกจากทหารที่ประจำการอยู่บนสกายวอล์คบนแยกศาลาแดงแล้วเจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้มีการเคลื่อนที่เข้าหาผู้ชุมนุม แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดความวุ่นวายขึ้นที่บริเวณแยกศาลาแดง และมีเสียงปืนดังอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปต้องหาที่หลบและมีผู้ได้รับบาดเจ็บและมีผู้เสียชีวิต

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน ศปช บทที่ 3.1: ความตายที่สวนลุมพินี-บ่อนไก่