ลำดับเหตุการณ์

มิถุนายน 2553

1 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต. สุเมธ เรื่องสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ให้ บก. ต่างสรุปผลการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองของ นปช. แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ประกอบด้วย

  1. คดีเกี่ยวกับวัตถุระเบิด จับกุมได้ 6 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 54 คดี รวม 62 คดี
  2. คดีอาญา (วางเพลิง) จับกุมได้ 1 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 36 คดี รวม 39 คดี คดีอาญา (ฆ่า/พยายามฆ่า) อยู่ระหว่างขอหมายจับ 1 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 17 คดี รวม 18 คดี คดีอาญา (ทำร้ายร่างกาย) อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 คดี คดีอาญา (ลักทรัพย์/ทำให้เสียทรัพย์/ปล้นทรัพย์) จับกุมได้ 21 คดี ออกหมายจับ 1 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 12 คดี รวม 34 คดี
  3. คดีอาญาอื่นๆ (ความมั่นคงฯ) จับกุมได้ 3 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 คดี รวม 7 คดี
  4. คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จับกุมได้ 160 คดี
  5. คดีอื่นๆ เช่น ยุทธภัณฑ์ทหาร จับกุมได้ 1 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 คดี รวม 4 คดี
  6. คดีชันสูตรผลิกศพ อยู่ระหว่างดำเนินการ 37 คดี รวมทั้งสิ้น 363 คดี

ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษยังเดินหน้าขอออกหมายจับผู้กระทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติม

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

8 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – ครม. เห็นชอบแต่งตั้งนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน คอป.

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

9 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่ บช.น. พล.ต.ต. ปิยะ อุทาโย โฆษก บช.น. สรุปตัวเลขคนที่ถูกหมายจับตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินว่ามีทั้งหมด 85 รายทั่วประเทศ อยู่ใน กทม. 84 ราย ต่างจังหวัด 1 ราย โดยใน 84 รายจับแล้ว 31 ราย ซึ่งบางส่วนยังควบคุมตัวอยู่ บางส่วนปล่อยตัวไปแล้ว

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

21 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – พล.อ. อนุพงษ์ ในฐานะหัวหน้ารับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงนามในคำสั่งเรียกบุคคลและนิติบุคคลรวม 83 ราย เข้าชี้แจงธุรกรรมต้องสงสัยทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

26 มิถุนายน 2553

นปช. –  นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นัดหมายไปผูกผ้าสีแดงที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ ทำให้ถูกตำรวจจับกุม ตามหมายศาลที่ออกเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 53 ฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ  (ดู “จับ “บก.ลายจุด” ไป ตชด.คลอง 5 ปทุมธานีข้อหาฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน,” ประชาไท, 26 มิ.ย.53

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

กรกฎาคม 2553

11 กรกฎาคม 2553

นปช. – เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 11 ก.ค.2553 นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ “หนูหริ่ง” แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง นำสมาชิกประมาณ 100 คน มารวมตัวกันเพื่อผูกผ้าสีแดงที่โคนเสาป้ายสี่แยกราชประสงค์  (ดู “บุกราชประสงค์ ผูกผ้าแดง เย้ยรัฐบาลรอบ2,” ไทยรัฐออนไลน์, 11 ก.ค.53

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

สิงหาคม 2553

16 สิงหาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และอุบลราชธานี

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

23 สิงหาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – กรมสอบสวนคดีพิเศษแถลงความคืบหน้าคดีที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่รับเป็นคดีพิเศษว่ามีทั้งสิ้น 266 คดี เป็นคดีก่อการร้าย 145 คดี คดีขู่บังคับรัฐบาล 21 คดี คดีทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน 80 คดี และคดีกระทำผิดต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ 20 คดี ส่วนการเสียชีวิตทั้ง 91 รายยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดหรือไม่ เนื่องจากมีชายชุดดำเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น  (ดู “DSIยันชันสูตร91ศพม็อบแดงถูกต้องตามกม.,” คมชัดลึกออนไลน์, 23 ส.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

25 สิงหาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่ประชุม ศอฉ. สั่งให้ดีเอสไอเร่งสรุปเรื่องการเสียชีวิตทั้ง 91 รายภายใน 60 วัน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

กันยายน 2553

19 กันยายน 2553

นปช. – มีการจัดชุมนุมใหญ่ที่แยกราชประสงค์ เพื่อรำลึก 4 เดือนเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53 และ ครบ 4 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมีกิจกรรมการวางพวงหรีดไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ มีการแสดงละครใบ้ล้อเลียนการเมือง

ที่ จ.ขอนแก่น มีจัดกิจกรรมวางดอกกุหลาบแดงที่เรือนจำกลางแสดงการต่อต้านรัฐประหาร และให้กำลังใจคนเสื้อแดง 4 คน ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาเผาศาลากลางจังหวัด และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีขอนแก่นที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่นี่ และได้ฝากจดหมายที่เขียนให้กำลังใจว่าจะไม่ทอดทิ้งกัน ผ่านทางเจ้าหน้าที่เรือนจำไปยังทั้ง 4 คนด้วย

ที่จ.อุดรธานี กลุ่มคนเสื้อแดง ได้ทำบุญเลี้ยงพระที่วัดทิพย์สันติวัน และนำกุหลาบแดงไปวางหน้าเรือนจำจังหวัด

ที่ จ.ชัยภูมิ นักศึกษาและกลุ่มคนเสื้อแดง ประมาณ 1,000 คน นปช.รวมตัวกันที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล กลางใจเมืองชัยภูมิ โดย นพ.ประสิทธิ์ชัยวิรัตนะ และ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ส.ส.ชัยภูมิ เปิดเวทีปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาล พร้อมนำรูปนายอภิสิทธิ์ มาเหยียบย่ำ และร่วมกันปล่อยลูกโป่งสีแดงเขียนข้อความด่ารัฐบาล ขึ้นสู่ท้องฟ้า จากนั้นเคลื่อนขบวน ไปวางดอกกุหลาบแดงหน้าเรือนจำจังหวัด เพื่อให้กำลังใจคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังอยู่ ท่ามกลางกำลังตำรวจนับร้อยมาดูแลความสงบ  (ดู “เสื้อแดงพรึ่บรวมพลังล้น “ราชประสงค์” ตร.จัดกำลังคุมเข้ม,” เดลินิวส์, 20 ก.ย.53)

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

ธันวาคม 2553

21 ธันวาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม มีมติยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พร้อมตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ขึ้นมาทดแทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ต้องยุบเลิกไปโดยสภาพ โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) เป็นผู้อำนวยการ ศตส. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ศตส.

ครม.ยังเห็นชอบให้ปล่อยตัวผู้ร่วมชุมนุมเหตุการณ์เดือน เม.ย.ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจำนวน 104 คน และรับทราบผลสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของคณะกรรมการที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน

ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ศตส.จะเป็นหน่วยงานภายในของ กอ.รมน. ใช้โครงสร้างตามกฎหมายมากำหนดแผนงานต่างๆ และคนที่เข้ามาติดตามสถานการณ์ รวมถึงบริหารแผนงานก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามลำดับชั้น  (ดู “มติ ครม.เลิก พรก.ฉุกเฉิน กทม. ปล่อยตัวชั่วคราว 104 ผู้ชุมนุม ‘แดง’,” ประชาไท, 22 ธ.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

<<< Back